ชุมชนกะเบอะดิน อำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่ อยู่อาศัยในพื้นที่มาหลายชั่วอายุคนด้วยการดำรงชีวิตฐานเกษตรกรรมแบบพึ่งพิงธรรมชาติ แต่พื้นที่อยู่อาศัยและพื้นที่ทำกินของชุมชนดังกล่าวกำลังจะกลายมาเป็นที่ตั้งของโครงการเหมืองถ่านหิน แม้รายงานการประเมินผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (รายงาน EIA) ของโครงการเหมืองถ่านหินดังกล่าวได้รับการอนุมัติจากสํานักนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้ประกอบกิจการเหมืองแร่ตามมาตรการลดผลกระทบที่เสนอในรายงานได้แล้ว แต่ EIA ของโครงการเหมืองถ่านหินดังกล่าวไม่ตอบข้อห่วงกังวลต่อผลกระทบจากมลพิษต่อสุขภาพ การประกอบอาชีพ และคุณภาพชีวิตของชุมชนกะเบอะดินในหลายประเด็นสำคัญ ทำให้ชุมชนคัดค้านเหมืองและไม่ยอมรับกระบวนการทำ EIA เพราะเกรงว่าเหมืองถ่านหินมาจะเปลี่ยนวิธีชีวิต กระทบสุขภาพ กระทบการทำเกษตรกรรม ทั้งนี้หนึ่งในประเด็นที่ชุมชนกังวลก็คือผลกระทบจากมลพิษอากาศจากการทำเหมืองถ่านหินต่อสุขภาพและวิถีชีวิตของชุมชน

omkoi-mercury-report-cover

ด้วยเหตุนี้ ชุมชนกะเบอะดินจึงได้ร่วมกันดำเนินการขั้นการกำหนดขอบเขตการประเมินผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (Public Scoping) เพื่อกำหนดขอบเขตและประเด็นสำคัญในการประเมินผลกระทบให้ถูกต้องครอบคลุมและตอบโจทย์ชุมชนอย่างแท้จริง โดยขั้นตอนดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของการประยุกต์ใช้กระบวนประเมินผลกระทบด้านสุขภาพโดยชุมชน (Community Health Impact Assessment: CHIA) ตามประกาศของคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ ภายใต้ พ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2550 ที่เน้นกระบวนการเรียนรู้ร่วมกันของชุมชนท้องถิ่นในการค้นหา รวบรวมข้อมูล วิเคราะห์สรุปประเด็นสำคัญที่ควรมีการประเมินอย่างเป็นระบบ อย่างรอบด้านบนฐานของความรู้ในหลายมิติ โดยเฉพาะการเคารพต่อองค์ความรู้ของชุมชนท้องถิ่น (traditional knowledge/local knowledge) ที่ผูกพันกับระบบนิเวศมาอย่างยาวนาน ด้วยเหตุนี้เพื่อให้กระบวนประเมินผลกระทบด้านสุขภาพโดยชุมชน (CHIA) ดำเนินไปจนสุดกระบวนการอันจะนำมาสู่การนำข้อมูลไปประกอบการตัดสินใจของภาคส่วนต่างๆ โครงการวิจัยจึงดำเนินการในขั้นตอนการประเมินผลกระทบดังกล่าวเพื่อตอบโจทย์ด้านมลพิษอากาศอันเป็นหนึ่งในประเด็นสำคัญที่กำหนดขอบเขตโดยชุมชนอมก๋อย

ดาวน์โหลดรายงาน

‘อมก๋อย’ แหล่งอากาศดีที่เชียงใหม่กำลังจะสูญเสีย

ชวนรู้จักชุมชนกะเบอะดิน อำเภออมก๋อย และส่งกำลังใจให้ประชาชนในพื้นที่ซึ่งยืนหยัดต่อสู้มาแล้วกว่า 4 ปี เพื่อปกป้องไม่ให้เหมืองเกิดขึ้น

มีส่วนร่วม