ระบบอาหารที่เน้นการผลิตและบริโภคเนื้อสัตว์เชิงอุตสาหกรรมในปัจจุบันเป็นหนึ่งในสาเหตุหลักของวิกฤตสภาพภูมิอากาศและเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ความต้องการพืชอาหารสัตว์ เช่น ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์จำนวนมหาศาล ในการปลูกพืชเพื่อเป็นอาหารสัตว์เหล่านี้จำเป็นต้องใช้พื้นที่เพาะปลูกมาก ทำลายพื้นที่ป่าอุดมสมบูรณ์ เช่น การรุกล้ำพื้นที่ป่าแอมะซอนเพื่อเป็นพื้นที่ปลูกถั่วเหลืองอาหารสัตว์ หรือพื้นที่ป่าไม้ในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขงที่ถูกเปลี่ยนไปเพื่อปลูกข้าวโพด 10.6 ล้านไร่(ปี 2558-2563) และยังเป็นหนึ่งในตัวการก่อมลพิษทางอากาศข้ามพรมแดนที่เป็นภัยต่อสุขภาพของประชาชน

รัฐต้องเอาผิดอุตสาหกรรมเนื้อสัตว์ที่ก่อให้เกิดฝุ่น PM2.5 และการทำลายป่า

ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เกิดปัญหาฝุ่นควันภาคเหนือ มลพิษข้ามพรมแดน และการสูญเสียป่าไม้เพื่อเป็นพื้นที่ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ และยังเป็นส่วนประกอบหลักของอาหารสัตว์เพราะมีราคาถูกกว่า อุตสาหกรรมเนื้อสัตว์เติบโตจากความต้องการบริโภคเนื้อที่มากขึ้น ทำให้ต้องอาศัยการปลูกข้าวโพดเพื่อเลี้ยงสัตว์เพิ่มมากขึ้นตามไปด้วย

ภายใต้หมอกควันที่ปรากฎ เกษตรกรมักต้องเป็นจำเลยของสังคม แต่แท้จริงแล้วยังมี ‘ระบบ’ ที่ผลักให้เกษตรกรต้องตกอยู่ในวังวนเกษตรพันธสัญญา

Hazibition : นิทรรศการใต้ฝุ่น เปิดต้นตอปัญหาฝุ่นควัน